top of page
Writer's pictureBaankluay News

ทําความรู้จักกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง ก่อนบรรจุในกีฬาโอลิมปิกเกมส์

หลายคนยังไม่ค่อยรู้จักกีฬาเชียร์ลีดดิ้งหรือเชียร์ลีดเดอร์กีฬาชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกาโดยเชียร์ลีดเดอร์จะแบ่งเป็น 2ประเภทคือ เชียร์ลีดดิ้งจะมีการนำยิมนาสติกเข้ามาประกอบท่าทางต่อตัว ตีลังกา ส่วนแดนซ์ทีมจะแบ่งเป็นประเภท ปอมปอมเชียร์ที่มีการหมุนตัว แตะขา จะเห็นได้มากในการเชียร์อเมริกันฟุตบอล และในกีฬาชนิดนี้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมเป็นกีฬาที่ให้ทั้งความสนุกสนาน ความตื่นเต้น เนื่องจากทั้งหมดนี้มี การใช้ดนตรีเข้ามาประกอบจังหวะ


การยืนตำแหน่งกีฬาเชียร์ลีดดิ้งมี  3 ตำแหน่งหลักๆ คือแบส (Bass) มีหน้าที่เป็นฐานคอยรับน้ำหนักอยู่ด้านล่าง มีฐานยืนไหล่ ฐานยกสตั้นสปอร์ตเตอร์ตำแหน่งต่อไปคือ (sporter) มีหน้าที่ส่งตัวยอดขึ้นไปยืนอยู่บนฐานแล้วคอยรับและเซฟตัวยอด ส่วนตำแหน่งที่สำคัญคืตัวยอด (Cop) หรือฟายเยอร์ (Fireyer) มีหน้าที่อยู่บนสุดคอยตีลังกาลอยอยู่บนอากาศ


ขอบคุณภาพจาก Bangkok University Cheerleading Team

การเลือกนักกีฬาในตำแหน่งต่างๆ มีความสำคัญมาก อย่างตำแหน่งแบส (Base) เป็นคนที่แข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้ มีการทรงตัวที่ดีขาแข็งแรงสปอร์ตเตอร์ (sporter) เป็นคนที่สูงจะได้เปรียบเวลาโยน คนบนยอดขึ้น เวลารับจะได้รับสูงขึ้น และตัวยอด (Flyer) เป็นคนที่ตัวเล็กมีน้ำหนักเบาสามารถเล่นท่าบนอากาศได้นาน กว่าคนตัวใหญ่


การแข่งขันในระดับนานาชาติ (ICU) หรือในระดับประเทศไทย สมาชิกในทีมห้ามมีเกิน24คน แต่ไม่ต่ำกว่า 8คน และในทีมต้องมีผู้หญิงอย่างน้อย 1 คน เชียร์ลีดดิ้งแตกต่างจากกีฬาทีมชนิดอื่นคือ ไม่มีตัวสำรอง ไม่มีการแทนตำแหน่ง เปลี่ยนตัวระหว่างการแข่งขันไม่ได้ ถ้าบาดเจ็บก่อนแข่งขันก็จะไม่มีคนแทน ทำให้ทั้งีมไม่ได้แข่งหรือถ้าแข่งต้องเว้นตำแหน่ง นั้นไว้นี่คือความยากของกีฬาชนิดนี้ทำให้เวลาซ้อมต้องมีความเข้าใจกันในทีมให้มากที่สุด


พี่เต้ย สราวุฒิ สำเนียงดี ผู้ฝึกสอนทีมเชียร์ลีดดิ้ง มหาวิทยาลัยกรุงเทพที่พาทีมคว้าแชมป์โลกได้ 2 สมัยเมื่อปี 2011 และ 2014 ในรายการ World cheerleading championships ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง ว่าเป็นกีฬา ที่ทำงานกันเป็นทีมต้องใช้เวลาการฝึกซ้อมเพื่อให้มีความพร้อมเพียงกัน เวลาซ้อมถ้ามีความเป๊ะมากเท่าไหร่ตอนแข่งจริง ก็ทำให้มีความพร้อมเท่ากับตอนซ้อม ทีมต้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ต้องใช้เวลาฝึกซ้อมทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมงและใช้เวลาหลายเดือนก่อนการแข่งขัน เพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง คิดท่าทางใหม่ 


“ฝากติดตามทีมเชียร์ลีดดิ้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งจะจัดขึ้นในทุก ๆ ปี ทีมจะต้องไปป้อมกันแชมป์สมัยที่ 14 เพราะทีมเคยคว้าแชมป์ประเทศไทยมาแล้ว 13 สมัย แชมป์โลก 2 สมัย ถ้าทีมชนะเลิศการแข่งขันในประเทศไทย ก็จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งก็อยากให้ทุกคนให้กำลังใจ และถ้ามีน้องๆ อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมก็สามารถมาติดต่อมาทางชมรมเชียร์ลีดดิ้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ” พี่เต้ย สราวุฒิ สำเนียงดีกล่าว


พี่มาย พรจิรา ปัญญาฟู อดีตนักกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง มหาวิทยาลัยกรุงเทพตัวยอดคอปตำแหน่ง (Cop) หรือฟายเยอร์ (Fireyer) ที่เคยพาทีมคว้าแชมป์โลกเมื่อปี 2014 พูดถึงกีฬาเชียร์ลีดดิ้งว่าเป็นกีฬาที่ต้องทำงานกันเป็นทีมต้องใช้เวลาฝึกซ้อมตอนเย็นหลังเลิกเรียนในทุกวันยิ่งถ้าก่อนการแข่งขันต้องเก็บตัวกับทีมตลอดเวลา ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการแบ่งเวลาเรียน กับการซ้อม แต่เรื่องนี้โค้ชก็ทราบพอเวลาใกล้สอบโค้ชก็จะลดเวลาซ้อมให้น้อยลง เพื่อให้เวลาไปอ่านหนังสือ แต่พอมีการเก็บตัว พี่มายจะมีการแจ้งกับอาจารย์ผู้สอนในแต่ละวิชาว่ามีการเก็บตัว และอาจารย์ก็จะให้ทำงานส่งย้อนหลัง ทำให้ปัญหา

เรื่องนี้ไม่ส่งผลต่อตัวพี่มาย


แม้กีฬาเชียร์ลีดดิ้งหรือเชียร์ลีดเดอร์อาจจะยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเหมือนกับกีฬาฟุตบอล และวอลเลย์บอล แต่กีฬาชนิดนี้สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยการคว้าแชมป์ในระดับนานาชาติมาได้ถึง 2 สมัย มีชื่อติดเป็นเต็งแชมป์ในระดับโลกทำให้ชาวต่างชาติชื่นชมในฝีมือการแข่งขันและติดตามเป็นอย่างมากภายใน 8 ปีข้างหน้ากีฬาเชียร์ลีดดิ้งจะบรรจุในกีฬาโอลิมปิก ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ เอกชน เพื่อพัฒนาศักยภาพนักกีฬา และเตรียมทีมเข้าร่วมการแข่งขันรายการต่างๆ ทั้งในประเทศไทยไปจนถึงระดับโลก

1,915 views0 comments

Comments


bottom of page